ReadyPlanet.com
การต่อหัวสายพานลำเลียง

ความรู้เรื่องการต่อหัวสายพานลำเลียง

สภาพทั่วไปสำหรับการต่อหัวสายพาน (CONDITIONS FOR SPLICING) ต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบ 3 อย่างดังนี้

                สถานที่ทำงาน (WORK PLACE)

1. ต้องมั่นใจว่าสถานที่ที่จะใช้ในการต่อหัวสายพาน ต้องสะอาดปราศจากฝุ่น และความชื่นต่างๆ

2. ในกรณีต่อหน้างาน (ON SITE) ควรมีเต้นท์กั้นหรือหลังคาเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และความชื่น ที่อาจจะมากับกระแสลม

                สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELTS)

1. สายพานลำเลียงต้องสะอาดและแห้ง (ปราศจากความชื้น) ในกรณีที่มีความชื้นอยู่บนสายพาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไล่ความชื้นออกให้หมด โดยใช้ DRYING HOOD หรือ AIR DRYER ทำการอบ หรือเป่าให้แห้ง หรืออาจจะใช้วิธีการอุ่น โดยการเปิดเครื่องต่อสายพานด้านล่างให้ร้อนก่อนเป็นการไล่ความชื้น

2. ต้องไม่มีคราบไขมัน และสิ่งสกปรกต่างๆ เกาะติดอยู่บนสายพานอย่างเด็ดขาด

                สภาพอุณหภูมิโดยรอบ (AMBIENT CONDITIONS)

    อิทธิพลของความชื้นก่อให้เกิดการกลั่นตัวของน้ำ ดังนั้นต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ควรใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการต่อ ซึ่งอุณหภูมิโดยรอบ, อุณหภูมิของวัสดุสำหรับต่อ และของสายพานควรจะอยู่ระหว่าง 10 °C ถึง 45 °C

 

 การต่อหัวสายพานลำเลียงหลักๆ มีอยู่ 3 แบบ คือ

1. การต่อแบบต่อร้อน (HOT SPLICING)

2. การต่อแบบต่อเย็น (COLD SPLICING) 

3. การต่อแบบใช้คริ๊ป (MECHICAL SPLICING)

 

การต่อร้อนคืออะไร ?

การต่อร้อนคือ การนำหัวสายพาน 2 หัว มาต่อกันด้วยวิธีการประกบหัวสายพาน แล้วกดติดกันให้แน่นด้วยเครื่องอบ (Drying Hood)

ขั้นตอนขั้นตอนในการต่อหัวสายพานลำเลียง มีดังนี้

1. การวัดหัวสายพาน ในแนวเฉียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (0.3 x ความกว้างสายพาน) ลอกหัวสายพานออก แล้วใช้เครื่องขัดแบบแปลงลวด โดยให้ทำการขัดผิวของรอยที่จะต่อทั้งหมด ข้อควรระวัง ไม่ควรทำให้ผิวของหน้ายางไหม้ หรือทำให้ผิวยางละลายเป็นน้ำมัน หรือผิวมัน และสิ่งจำเป็นที่สุดไม่ควรทำให้ผ้าใบเสียหาย

2. ทำความสะอาดเศษยางที่เกิดจากการขัด ด้วยแปรงแห้งๆ ถ้าบริเวณพื้นที่ ที่จำทำการต่อมีคราบสกปรกอยู่ ควรจะทำการล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

3. ทากาวยาง ลงบนพื้นผิวของรอยต่อให้ทั่วทุกจุด ทั้ง 2 ด้านของสายพานโดยใช้แปรงที่มีขนสั้นๆ โดยขยี้ให้กาวซึมเข้าไปในพื้นผิวให้มากเท่าที่จะทำได้

4. นำแผ่นยางบาง ติดลงไปบริเวณตรงลอยต่อที่ทากาวและขอบของสายพาน สำหรับแผ่นยาง ที่ใช้ต้องให้ต่ำกว่าผิวหน้าของสายพานเสมอ แล้วทากาวยางอีก 1 ครั้ง

5. นำปลายของสายพานมาวางทับกัน ไม่ควรวางพื้นที่ของรอยต่อสายพานในลักษณะที่วางลงทีเดียวพร้อมกัน ควรจะวางไล่จากปลายจุดหนึ่งไล่ลงไปเรื่อยๆ จนหมด ข้อควรระวัง ควรวางให้ปลายสายพานทั้ง 2 ข้างให้เสมอกัน

6. ทากาวยาง (Filler Rubber) บริเวณรอยต่อส่วนที่เหลือ แล้วนำแผ่นยางบาง ที่ตัดให้ได้ตามขนาดของรอยต่อส่วนที่เหลือพร้อมทากาวยางอีก1 ครั้ง และทิ้งไว้ให้แห้ง

7. นำยางปิดหัวสายพาน (Cover Strip) มาตัดให้ได้ขนาดความกว้างของสายพาน แล้วปิดไปตรงลอยต่อหัวสายพาน โดยให้ยาง (Cover Strip) ที่ติดอยู่ต่ำกว่าผิวหน้าของสายพาน 0.5 มิลลิเมตร

8. นำสายพานลำเลียงเข้าเครื่องอบ ให้บริเวณรอยต่อหัวอยู่กึ่งกลางเครื่อง

 

ความรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียง ข้อดีและข้อเสียของการต่อหัวสายพานลำเลียง แบบต่างๆ

การต่อแบบต่อร้อน (HOT SPLICING) ข้อดีคือ เมื่อทำการต่อเสร็จแล้ว สามารถ ใช้งานได้ทันที การยึดเกาะระหว่างหัวของสายพานลำเลียงจะดีมาก ลดปัญหารอยต่อขาด รูปลักษณ์ของสายพานลำเลียงจะสวยงาม เพราะรอยต่อจะผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ข้อเสียคือ ใช้อุปกรณ์เฉพาะทาง (เครื่องให้ความร้อน) ผู้ทำการต่อหัวสายพานต้องมีความชำนาญสูง มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบเย็นและการต่อแบบคริ๊ป


การต่อแบบต่อเย็น (COLD SPLICING) ข้อดีคือ การต่อแบบเย็นใช้อุปกรณ์ในการต่อไม่มาก ค่าใช้จ่ายไม่สูง

การยึดเกาะระหว่างหัวของสายพานค่อนข้างดี  ข้อเสียคือ เมื่อทำการต่อหัวสายพานเรียบร้อยแล้วไม่สามารถใช้งานได้ในทันที ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อทำให้การยึดเกาะดียิ่งขึ้น ถ้าผู้ต่อหัวสายพานไม่มีความชำนาญอาจทำให้เกิดการหลุดหรือฉีกขาดของรอยต่อได้


 การต่อแบบต่อคริ๊ป (MECHANICAL SPLICING) ข้อดีคือ สะดวกรวดเร็วในการต่อหัวสายพาน ค่าใช้จ่ายน้อย มีขั้นตอนและวิธีการต่อที่ง่าย ผู้ใช้สามารถทำเองได้ แต่ต้องดูตามคู่มืออย่างเคร่งคัด เมื่อต่อเสร็จสามารถใช้งานได้ทันที ข้อเสียคือ เมื่อรอยต่อคริ๊ปเคลื่อนที่ผ่านลูกกลิ้ง จะเกิดเสียงดังและทำให้ลูกกลิ้งเกิดการสึกหรอ ถ้าผู้ทำการต่อไม่ระวัง อาจทำให้รอยต่อคริ๊ปเป็นตัวนำทำให้สายพานลำเลียงฉีกขาดเสียหายได้ 

 




ความรู้เรื่องสายพาน

ส่วนประกอบสายพาน
เกรดของสายพานลำเลียงและตารางเปรียบเทียบ
วิธีสั่งสายพาน/วิธีดูหมายเลขที่ประทับมากับสายพาน
Degree of abrasieness for some materials
การเลือกขนาดพูเลย์
ความแตกต่างระหว่างสายพานมีขอบ และไม่มีขอบ
ผ้า ep
ตารางแสดงค่าควางเร็วแล่นสายพานสูงสุด
หลักการในการตรวจเช็คสายพาน
ปัญหาและวิธีการแก้ใขสายพานลำเลียง