ReadyPlanet.com
หลักการในการตรวจเช็คสายพาน

หลักการในการตรวจ-เช็ค สายพาน (BELT CONVEYOR)
 

1. สายพานจะต้องมีการตรวจเช็ค

  • ผิวหน้าของสายพาน สึก, ขาด, ชำรุด
  • สภาพของสายพานเวลาเดิน ตรงหรือไม่, เอียงไปข้างหนึ่งข้างใด
  • ดูรอยต่อของสายพาน ถ้าเป็น Clip ดูว่าหัก, ฉีก รอยต่อขาดหรือไม่ความตึงหย่อน-มากน้อยแค่ไหน


2. Roller ในสายพานบางเส้นจะมี Roller หลายๆ อย่าง จะต้องตรวจดูทั้งหมด

  • ลูก Roller สึกขาด-ทะลุ-บาง
  • Bearing แตกหรือไม่ อาจจะฟังจากการเกิดมีเสียงดัง, หรือ Roller ไม่หมุนเพราะ Bearing ตาย
  • มีวัสดุอื่น เช่น หิน, เหล็ก เข้าไปขัดใน Roller หรือไม่
  • ถ้าเป็น Roller ยางให้ดูความรู้สึกของยาง
  • ระดับของลูก Roller สูงต่ำเท่ากันหรือไม่ เพราะจะทำให้ Roller ไม่หมุนได้


3. Drum, Drive Pulley, Take up

  • ถ้ามียางหุ้ม Drum ดูว่าสึกมากหรือน้อยแค่ไหน
  • ตัว Pulley ต่าง ๆ สึกบาง ชำรุดมากหรือน้อย
  • มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ในเวลาทำงาน
  • ถ้ามี Key ให้ดูด้วยว่า Key ถอย-หลุดหลวมหรือไม่
  • Bearing อาจจะใช้ฟังเสียง, จับด้วยมือ, สังเกตด้วยตาว่า Bearing ของ Pulley ต่าง ๆ นั้นร้อนมากผิดปกติหรือมีเสียงดัง, กระตุก มีการหล่อลื่นอัดจารบีหรือไม่
  • ดู Pulley เลื่อนไปสีผนัง Chute หรือ Frame ข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่าเพราะถ้า Sleeve หลวมจะทำให้เพลาลุนได้ ต้องรีบแก้ไขทันที

 
4. ยางกันฝุ่นต่าง ๆ (Skirt)

  • ดูว่ายางกันฝุ่นสึกมากน้อยแค่ไหน-ฉีกขาด หลุดหรือไม่
  • อย่าให้ยางกันฝุ่นกดสายพานจนแน่นเกินไป จะทำให้สายพานชำรุดได้
  • อย่าให้ยางห่างจากสายพานมาก เพราะทำให้วัสดุเข้าไปขัดระหว่างยางกับผิวสายพานทำให้สายพานขาดได้ และจะมีฝุ่นฝังมาก
  • รอยต่อของยางกันฝุ่น ควรต่อด้วยความปราณีต เพราะทำให้ฝุ่นรั่วได้
  • ยางปิดด้านท้าย Chute ควรตัดยางให้เข้ารูปกับส่วนโค้งของสายพาน
  • ยางกันฝุ่นด้านหน้าควรใช้ยางบาง และตัดเป็นเส้น ๆ เพื่อให้วัสดุแล่นผ่านยางออกไปได้โดยสะดวก
  • ยางกันกระทบภายใน Chute ควรขยันเปลี่ยนบ่อย ๆ นอกจากจะลดเสียงดังแล้ว ยังรักษาผนัง Chute ที่เป็นเหล็กอีกด้วย

 
5. Scraper ควรตรวจเช็ค

  • สภาพของยาง V-Scraper สึกหมดหรือยัง-ถ้าใกล้หมดควรเปลี่ยน
  • น้ำหนักของ V-Scraper ที่กดสายพานมากเกินไป-หรือน้อยเกินไปหรือไม่
  • กวาดฝุ่นและวัสดุที่มากับสายพานได้เกลี้ยงดีหรือไม่ เพราะถ้ามีวัสดุวิ่งเลยเข้าไปจนถึง Pulley แล้ว Pulley จะบดติดกับสายพานทำให้สายพานชำรุดได้
  • Scraper ใต้ Drum หรือ Pulley สึกบาง-หรือห่างเกินไปหรือไม่ เราสามารถปรับได้
  • อย่าให้ Scraper ใต้ Pulley ขูดสายพานจนแน่นเกินไป จะทำให้เกิดอาการสั่นสะเทือนและ Over Load ได้

 
6. โครงสร้างของสายพาน

  • ดูสภาพของขา Support ต่าง ๆ คดงอ, ชำรุด, สูญหาย
  • สายพานสีกับโครงขาหรือเสาหรือไม่ ถ้าสีควรปรับสายพานใหม่
  • ช่วงห่างของขา Support ห่างมากจนสายพานตกท้องช้างหรือไม่
  • อย่าปล่อยให้มีเหล็ก-ไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ไปวาง หรือจัดไว้บนโครงสายพานอย่างเด็ดขาด
  • ความสั่นสะเทือนของโครงสายพานในเวลาทำงาน ถ้าสั่นสะเทือนมากดูว่าเกิดจากอะไร-ควรแก้ไข


7. ทั่ว ๆ ไป

  • ควรดูแล ปัด-กวาดทำความสะอาด โครงของสายพาน
  • ทำความสะอาดลูก Roller ที่มีดินหรือวัสดุอื่น ๆ เกาะโดยการเคาะออกให้หมด ฯลฯ

*อันตรายจะไม่เกิดขึ้น ถ้าท่านไม่ประมาทหรือเผลอเลอ*




ความรู้เรื่องสายพาน

ส่วนประกอบสายพาน
เกรดของสายพานลำเลียงและตารางเปรียบเทียบ
วิธีสั่งสายพาน/วิธีดูหมายเลขที่ประทับมากับสายพาน
Degree of abrasieness for some materials
การเลือกขนาดพูเลย์
ความแตกต่างระหว่างสายพานมีขอบ และไม่มีขอบ
ผ้า ep
ตารางแสดงค่าควางเร็วแล่นสายพานสูงสุด
การต่อหัวสายพานลำเลียง
ปัญหาและวิธีการแก้ใขสายพานลำเลียง